วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับสุขภาพดี

สุขภาพดี ถือว่าเป็นสิ่งที่ใครๆต่างก็พึงประสงค์จะได้รับหรือให้เกิดขึ้นกับตนเอง ฉะนั้นเราควรหันมาใส่ใจกันสุขภาพของตนเองให้มากขึ้นโดยวันนี้ มีข้อแนะนำดีๆต่างๆเกี่ยวกับการดูแลสุพภาขมาฝากทุกคนค่ะ




หากถามใครก็ตามที่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักในระยะยาวว่า พวกเขาทำได้อย่างไร แน่นอนว่า เรื่องหนึ่งที่พวกเขาต้องพดถึงก็คือการควบคุมปริมาณการกิน ซึ่งสามารถทำให้ความพยายามของคุณทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว ลองมาเรียนรู้ เคล็ดลับที่ช่วยคุณได้ต่อไปนี้

1. พบกันครึ่งทาง คุณสามรถลดแคลอรีลงได้ราว 50% โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพียงแค่กินมันครึ่งเดียวพอ เช่น เวลาไปกินอาหารที่ร้าน แบ่งอาหารออกครึ่งหนึ่ง แล้วให้เอาไปห่อกลับบ้านทันที แล้วกินช้าๆ เพื่อที่จะได้ลิ้มรสอาหารอย่างเต็มที่ จำไว้ว่ามันต้องใช้เวลา 20 นาทีถึงจะเริ่มรู้สึกถึงความอิ่ม การกินช้าๆ จึงป้องกันไม่ให้คุณกินเยอะเกินไป คุณสามารถเอาอหารที่ห่อออกมากินต่อได้ ถ้าไม่อิ่มจริงๆ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าคูณจะไม่ต้องทำอย่างนั้น

2. แบ่งของเหลือให้เล็กลง แทนการใช้ภาชนะขนาดใหญ่ใส่ของเหลือทั้งหมดรวมกัน แยกมันใส่ภาชนะเล้กๆ ขนาดพอดีสำหรับหนึ่งที่ และเวลาที่คุณเปิดตู้เย็นเพื่อหาของกิน จะได้อุ่นของกินเฉพาะสำหรับคนเดียว แทนการอุ่นที่ใหญ่ๆ และกินมันจนหมด

3. กินสลัด การกินสลัดก่อนอาหารกลางวันหรืออาหารค่ำ จะช่วยระงับความอยากอาหารของคุณ และทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น และแทนที่จะกินแต่ผักใบเขียวอย่างเดียว เติมสลัดของคุณด้วยเนื้อสัตว์แบบไร้ไขมัน เช่น เนื้ออกไก่หรือปลา เส้นใยอาหารจากผักจะทำให้คุณอิ่ม และโปรตีนจากเนื้อสัตว์ก็จะเพิ่มพลังงานให้ด้วย

4. ซื้อของกินขนาดเล็กๆ ซื้อของว่างในห่อบรรจุขนาดหนึ่งที่ เพราะมันอาจม่ายนักที่จะหยุดกิน ถ้าคุณกินของจากถุงใหญ่ๆ แต่คงไม่สนุกนักสำหรับการต้องแกะห่อหลายๆ ครั้ง

5. กินมื้อย่อยๆ คุณจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือกคงที่ และไม่กินมากจนเกินไป ด้วยการกินอาหารมื้อเล็กๆ ตลอดทั้งวัน เพราะคุณจะไม่หิวมากเกินไปจนทำให้กินไม่ยั้ง และควบคุมปริมาณการกินไม่ได้

6. อย่ากินเบิ้ล ลองเปลี่ยนวิธีการเสิร์ฟอาหาร ด้วยการตักอาหารใส่จานเฉพาะหนึ่งที่ แล้วเก็บของที่เหลือให้พ้นหูพ้นตา เพื่อที่จะได้ไม่มีอะไรล่อใจให้อยากกินต่อจานที่สอง

7. เอาใจตัวเอง นานๆ ครั้งก็ให้ตัเวองได้กินอาหาร “ต้องห้าม” ดูบ้าง เพื่อไม่ให้คุณรู้สึกว่าอดอยากจนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า

8. เลิกกินบุฟเฟต์ได้แล้ว มันอาจดูคุ้มค่า แต่การกินอาหารบุฟเฟต์คือศัตรูตัวฉกาจของการคุมปริมาณการกิน เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะคุมปริมาณการกินในขณะที่คุณอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่ “กินทุกอย่างเท่าที่สามารถกินได้”




"สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง" เป็นสโลแกนที่คนรักสุขภาพทราบกันดีอยู่แล้วว่าเห็นผลจริงทุกประการ เพราะคนเราไม่สามารถหาซื้อภูมิต้านทานโรคและความแข็งแรงให้กับร่างกายได้ นอกเสียจากว่าจะต้องลงมือสร้างเอง จึง10 ตัวอย่างเกร็ดสุขภาพมาฝากซึ่งหากทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ทำสม่ำเสมอรับรอง สุขภาพ ดีกันทั่วหน้า

1.สำรองผลไม้ในตู้เย็นผักผลไม้ที่ควรสำรองในตู้เย็นอย่าให้ขาด ได้แก่ กะหล่ำปลี แครอต ส้ม แอปเปิ้ล ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์มากสำหรับสาวๆ ที่กำลังไดเอตแล้ว การรับประทานผักผลไม้เป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วยนะ

2.เหงือกดีด้วยน้ำชายามเช้า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ และสวีเดนบอกว่าการบ้วนปากในช่วงเช้าด้วยน้ำชา จะช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากได้เนื่องจากสารโพลีฟีนอล จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่เป็นต้นเหตุของฟันผุ ส่วนการดื่มชาหลังมื้ออาหาร ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเหงือได้

3.ดื่มน้ำมากขึ้น ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 แก้ว จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์

4.เปลือยเท้าคลายเครียดการย่ำเท้าเปล่าไปบนทรายนุ่มๆ จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากการเดินเท้าเปล่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต

5.รับแสงแดดอ่อน ๆ มีข้อมูลจากการวิจัยระบุว่าผู้หญิงที่ไม่ค่อยโดนแดดเอเสียเลย มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองที่มีแดดเนื่องจากแสงแดดช่วยสังเคราะห์วิตามินดี ในร่างกายแต่การโดนแดดจัดในช่วงบ่ายๆ ก็เป็นอันตรายเช่นกัน ควรรับแดดอ่อนๆ ในช่วงเย็นจะดีกว่า

6.หันมารับประทานขนมปังโฮลวีตกัน เถอะสำหรับมื้อว่างยามบ่าย แทนที่จะไปคว้าคุกกี้หรือเค็กช็อกโกแลตซึ่งเพียบด้วยแคลอรี่ เปลี่ยนมาทานขนมปังโฮลวีตสัก2 แผ่น รับรองว่าจะช่วยให้คุณรู้สึกมีกำลังวังชาแล้วยังไม่อ้วนอีกด้วย

7.สลัดปลาทูน่าเพิ่มความจำ ใครที่รู้ตัวว่าเริ่มจะหลงๆ ลืมๆ ความจำสั้นลง ลองหันมาทาน สลัดปลาทูน่าหรืออาหารเมนูปลา รวมทั้งเพิ่มอาหารที่มีวิตามินบี 2 เช่น ไข่ นมถั่วเหลือง เพราะนอกจากจะช่วยให้อารมณ์ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มพลังความจำให้กับสมองได้

8.เดินไวไว หมายถึงเดินเร็วๆ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง คนที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย แต่ยังห่วงใยสุขภาพของตัวเองอยู่ลองใช้วิธีเดินให้ไวขึ้นอีกนิด อาจใช้เวลาเดินในช่วงเช้าหรือหลังเลิกงาน เดินไปที่ป้ายรถเมล์สักสามสี่ป้ายหรือเดินขึ้นลง บันไดให้ได้วันละ 20 นาที จะช่วยบริหารหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรงและยังได้หุ่นสลิมรูปร่างสมส่วนเป็นของแถม

9.เติมไขมันดีๆ ให้ร่างกาย ไขมันนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้ายซะทีเดียว เพราะไขมันมีอยู่หลายชนิดไขมันที่เป็นมหามิตรกับร่างกายนะ หากร่างกายขาดแคลนอาจมีผลต่อการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว จากน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่ว และไขมันโอเมก้า 3 จากปลา ซึ่งเป็นไขมันดีๆ ที่ไม่เพียงให้พลังงานทำให้มีเรี่ยวแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันโรค มะเร็งและหัวใจอีกด้วย

10. Just Do Nothing ลองหยุดภารกิจวุ่นๆ สักสัปดาห์ละวัน หรือวันละ 1 ชั่วโมงให้ปลอดจากเรื่องงาน และคนรอบข้าง ใช้เวลาอยู่คนเดียวตามลำพังจะช่วยให้คุณสงบ เป็นเวลาที่จะได้เรียนรู้วฃิธีหยุดพักใจอาจฟังเพลงเงียบๆ คนเดียว หรืออาบน้ำอุ่นๆ แล้วอ่านหนังสือเล่มโปรด ค่อยๆ จิบน้ำชาชมดอกไม้เป็นการเติมความรื่นรมย์ด้านจิตใจ ทำให้คุณสดชื่นและมีความสุขอย่างไม่น่าเชื่อ และยังห่างไกลจากโรคความรีบร้อน อันหมายถึงโรคที่ทำใหคุณตื่นตัว และเร่งรีบจนแทบไม่มีเวลาสำหรับตัวเอง



13 เคล็ดลับดูแลสุขภาพ

1. แคลอรี่เยอะ เสื่อมเร็ว การรับประทานอาหารที่ให้แคลอรี่สูงจะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสารอาหารมาก ก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มมากขึ้น อาหารที่เรารับประทานไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต สุดท้ายก็จะถูกย่อยสลายกลายเป็นน้ำตาล ถ้าร่างกายรับแคลอรี่หนักทุกมื้อ ย่อมส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงๆ ต่ำๆ ร่างกายต้องหลั่งสารอินซูลินตลอดเวลาเพื่อนำน้ำตาลไปเก็บไว้ในเซลล์ คนที่มีไลฟ์สไตล์แบบนี้ย่อมเสี่ยงกับการเป็นโรคเบาหวานซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่ง ทำให้แก่เร็ว สมัยก่อนการกินอาหารเน้นแป้งและน้ำตาล รองลงมาคือ โปรตีน ผักผลไม้และไขมัน แต่ถ้าต้องการรับประทานอาหารให้ดีไม่ให้แก่เร็ว ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะสิ่งที่ควรกินมากที่สุดคือ น้ำบริสุทธิ์ 1 – 2 ลิตรต่อวัน เน้นผักผลไม้ อาหารกลุ่มโปรตีนมีประโยชน์ ไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า 3, 6 และ 9 ส่วนสิ่งที่ควรกินให้น้อยที่สุดให้น้อยที่สุด คือ ไขมันอิ่มตัวที่มีอยู่ในแป้งและน้ำตาล

2. กินหลากแหล่ง เลือกผักออร์แกนิกหรือจากหลากแหล่งผลิต เพราะเราไม่รู้ว่าแหล่งปลูกมีสารปนเปื้อนหรือไม่ วิธีนี้ช่วยลดการสะสมสารบางอย่างในร่างกาย เพราะมีงานวิจัยบ่งชี้ว่า การลดการกินอาหารที่มีสารพิษไม่ให้ผลดีเท่ากับกินอาหารจากหลากแหล่งผลิต

3. ร้อนไปไม่ดี กรอบไปไม่เวิร์ค หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการร้อนจัดหรือทอดจนกรุบกรอบ นอกจากจะสูญเสียคุณค่าสารอาหารแล้ว ยังเพิ่มสารก่อมะเร็งมากขึ้นด้วย สู้เปลี่ยนมากินอาหารออร์แกนิกหรือผ่านกรรมวิธีนึ่งหรือต้มจะดีกว่า

4. ลดคาเฟอีน ปกติร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อกระตุ้นร่างกายให้เผาผลาญนำเลือดไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เพียงพอ สร้างความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้หลั่งสารอะดีนาลี นอยู่เป็นประจำ อะดรีนาลินทำงานคล้ายฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้ร่างกายลดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ไปโดยปริยาย ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์เสื่อมเร็วกว่าปกติ ถ้า เกิดภาวะไทรอยด์ต่ำ ทำให้การเผาผลาญต่ำลง แม้เราจะรับประทานอาหารเท่าเดิม แต่อ้วนง่าย บางคนมีอาการมือเท้าเย็น เวียนศรีษะ ความจำเสื่อม ผิวและผมแห้ง ไขมันในเลือดสูงเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ

5. ดื่มนมมากไปกระดูกพรุน ในวัยผู้ใหญ่ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนเอเชียมีอุบัติการ Cow’s Milk Intolerance มากกว่า คนอเมริกาและยุโรป นอกจากนี้ผลการวิจัยล่าสุดในอเมริกาพบว่า คนที่ดื่มนมมากๆ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่า เหตุผลคือ กรดแอมิโนบางอย่างในนมทำให้เลือดเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมและแมกนีเซียมจากกระดูกไปในปัสสาวะ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่ ทางที่ดีเลือกทานแคลเซียมจากแหล่งอื่นๆ เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ธัญพืช หรือเต้าหู้จะดีกว่า

6. ดื่มน้ำจากขวดแก้ว การดื่มน้ำบริสุทธิ์จากขวดแก้วดีกว่าดื่มน้ำจากขวดพลาสติก เพราะสารพิษในพลาสติกละลายปะปนในน้ำตลอดเวลา ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ ก่อให้เกิดความเสื่อมอย่างไม่ต้องสงสัย

7. หน้าแก่เพราะฟิตเกิน คุณเคยเห็นคนออกกกำลังกายหนักจนหน้าแก่ หรือบางคนฟิตจัด แต่จู่ๆ เกิดหัวใจวายกะทันหันกลางสนามกีฬาหรือไม่ นั่นเป็นเพราะร่างกายเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระมากขึ้นกว่าเดิม เป็นเหตุของความเสื่อมของร่างกาย ดังนั้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เหมาะสมจึงควรอยู่ที่ 30 – 45 นาทีต่อวัน จากนั้นยกเวทนิดหน่อย ทำ 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าผลเสีย

8. ดื่มเหล้ามาก จากชายกลายเป็นหญิง การดื่มเหล้าทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย แถมเหล้าที่ดื่มเข้าไปกลายเป็นน้ำตาลสะสมในรูปไขมัน ถ้าเทียบการได้รับแคลอรี่จากโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ แต่เหล้าปริมาณเท่ากันให้พลังงานถึง 7 กิโลแคลอรี่ แถมยังทำให้ผู้ชายที่ดื่มจัดรูปร่างเหมือนถังเบียร์ หัวล้าน มีเต้านมเหมือนผู้หญิงนั่น เป็นเพราะเหล้ามีผลต่อตับ ทำให้มีการเปลี่ยนฮอร์โมนจากชายกลายเป็นหญิงมากขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติของฮอร์โมนเพศหญิงใช้ในการเก็บไขมัน คนที่ดื่มหนักจะลงพุงและแก่เร็ว นอกจากนี้ยังทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในผู้หญิงที่ดื่มหนักมาก มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเช่นเดียวกัน

9. หยุดสูบเสียแต่วันนี้ บุหรี่ 1 สูบกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น 1014 ล้านโมเลกุล ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคถุงลมโป่งพองและโรคมะเร็ง

10. หลีกเลี่ยงโลหะหนักและสารปรอท ในอเมริกาและยุโรปสั่งห้ามใช้อะมัลกัม (Amalgum : ทำ มาจากปรอทซึ่งเป็นโลหะหนัก) ในการอุดฟันคนไข้ เพราะพบว่ามีการระเหยปล่อยสารปรอทเข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา มีงานวิจัยบ่งชี้ว่าคนเป็นมะเร็งเต้านมและอัลไซเมอร์มีผลส่วนหนึ่งมาจากปรอท และโลหะหนัก ปัจจุบันคนเยอรมันหันมาใช้ “เซอร์โคเนียม” (เพชรรัสเซีย) ในการอุดฟัน รวมถึงการผลิตข้อเทียม กระดูก และรากฟันเทียมแทน เพราะไม่ทำปฏิกิริยาต่อร่างกาย

11. วางโทรศัพท์มือถือไกลตัว มีงานวิจัยว่าการใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งใช้คลื่นความถี่สูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ถ้าเป็นไปได้ควรวางโทรศัพท์ไว้ห่างจากร่างกายจะดีกว่า

12. เข้านอนตั้งแต่สี่ทุ่ม ตั้งแต่ 4 ทุ่มถึงตีสองเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งส่งผลให้หลับลึก ทำให้ความจำดี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และทำให้การหลั่งฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายสมดุล ขณะเดียวกันช่วงที่ร่างกายหลับลึกส่งผลให้โกร์ทฮอร์โมนหลั่งออกมาเพื่อเสริม สร้างโปรตีนในร่างกาย ได้แก่ คอลลาเจนใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และกระดูกให้แข็งแรง ช่วยลดไขมันที่สะสมในร่างกาย ถ้าไม่อยากแก่ อย่านอนดึกจนเกินไป




การแต่งกายสี่ภาค

ในปัจจุบันการแต่งกายของแต่ละภาคได้รับความกลมกลืนกันไปหมด เนื่องมาจากถูกครอบคลุมสิ่งที่เรียกว่าแฟชั่น จึงทำให้การแต่งกายมีความคล้ายคลึงกันไปหมด จนแยกแยะไม่ค่อยออกว่าบุคคลไหนอาศัยอยู่ในภาคใด เราลองไปรื้อฟื้นกันดูว่าในสมัยรุ่นก่อนๆ สมัยคุณ ปู่ ย่า ตา ยาย มีการแต่งกายกันแบบใดบ้าง โดยแยกแยะในแต่ละภาคดังต่อไปนี้



ความหมายของเครื่องแต่งกาย

คำว่า “ เครื่องแต่งกาย “ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย การแต่งกายของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สามารถค้นคว้าได้จาก หลักฐานทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นเครื่องช่วยชี้นำให้รู้และเข้าใจถึงแนวทางการแต่งกาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น
ประวัติของเครื่องแต่งกาย
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกายจากสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า หนังสัตว์ ขนนก ดิน สีต่างๆ ฯลฯ มนุษย์บางเผ่าพันธุ์รู้จักการใช้สีที่ทำมาจากต้นพืช โดยนำมาเขียนหรือสักตามร่างกายเพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งแทนการใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกาย ต่อมามนุษย์มีการเรียนรู้ ถึงวิธีที่จะดัดแปลงการใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกายจากธรรมชาติให้มีความเหมาะสมและสะดวกต่อการแต่งกาย เช่น มีการผูก มัด สาน ถัก ทอ อัด ฯลฯ และมีการวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงการรู้จักใช้วิธีตัดและเย็บ จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ความแตกต่างในการแต่งกาย
มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่อ่อนแอที่สุดในทางฟิสิกส์ เพราะผิวหนังของมนุษย์มีความบอบบาง จึงจำเป็นต้องมีสิ่งปกคลุมร่างกายเพื่อสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ จากความจำเป็นนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในอันที่จะแต่งกาย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เอง โดยมีสังคมและสิ่งอื่นๆประกอบกัน และเครื่องแต่งกายก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุนั้นๆ คือ

1. สภาพภูมิอากาศ
ประเทศที่อยู่ในภูมิอากาศแถบเส้นอาร์คติก ซึ่งมีอากาศที่หนาวเย็นมาก มนุษย์ในแถบภูมิภาคนี้จะสวมเสื้อผ้าซึ่งทำมาจากหนังหรือขนของสัตว์ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ส่วนในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เสื้อผ้าที่สวมใส่จะทำจากเส้นใย ซึ่งทำจากฝ้าย แต่ในทวีปอัฟริกา เสื้อผ้าไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับใช้ในการป้องกันจากสภาพอากาศ แต่เขากลับนิยมใช้พวกเครื่องประดับต่างๆที่ทำจากหินหรือแก้วสีต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาตินำมาตกแต่งร่างกาย เพื่อใช้เป็นเครื่องลางหรือเครื่องป้องกันภูติผีปีศาจอีกด้วย

2. ศัตรูทางธรรมชาติ
ในภูมิภาคเขตร้อน มนุษย์จะได้รับความรำคาญจากพวกสัตว์ปีกประเภทแมลงต่างๆ จึงหาวิธีขจัดปัญหาโดยการใช้โคลนพอกร่างกายเพื่อป้องกันจากแมลง ชาวฮาวายเอี้ยน แถบทะเลแปซิฟิค สวมกระโปรงซึ่งทำด้วยหญ้า เพื่อใช้สำหรับป้องกันแมลง แต่ก็ได้กลายเป็นที่เก็บแมลงเสียมากกว่า ชาวพื้นเมืองโบราณของญี่ปุ่นรู้จักใช้กางเกงขายาว เพื่อป้องกันสัตว์และแมลง

3. สภาพของการงานและอาชีพ
หนังสัตว์และใบไม้สามารถใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น การเดินป่าเพื่อหาอาหาร มนุษย์ก็ใช้หนังสัตว์และใบไม้เพื่อป้องกันการถูกหนามเกี่ยว หรือ ถูกสัตว์กัดต่อย ต่อมา สามารถนำเอาใยจากต้นแฟลกซ์ ( Flax ) มาทอเป็นผ้าที่เรียกกันว่า ? ผ้าลินิน ? เมื่อความเจริญทางด้านวิทยาการมีมากขึ้น ก็เริ่มมีสิ่งที่ผลิตเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายชนิด สมัยศตวรรษที่ 19 เสื้อผ้ามีการวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น มีผู้คิดประดิษฐ์เสื้อผ้าพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้สวมใส่ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานประเภทต่างๆ เช่น กลาสีเรือล่าปลาวาฬ คนงานเหมืองแร่ เกษตรกร คนงานอุตสาหกรรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เป็นต้น
อันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างปฏิบัติงาน ทำให้ความต้องการของมนุษย์ในด้านเสื้อผ้ามีมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ เสื้อผ้าที่ผลิตขึ้นมานั้นได้มีการปรับปรุงและตกแต่งพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับอาชีพต่างๆ เช่น ให้มีความคงทนต่อสารเคมี ทนต่อพิษ และ อุณหภูมิ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งพิเศษอื่นอีก อาทิเช่น ทนต่อการซักและทำความสะอาด ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ไม่ดูดซึมน้ำ และไม่เป็นตัวนำความร้อน เป็นต้

4. ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและศาสนา
เมื่อมนุษย์มีสติปัญญามากยิ่งขึ้น มีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชน และจากการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะนี้เอง จึงจำเป็นต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์ในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยไม่มีการรุกรานซึ่งกันและกัน จากการปฏิบัติที่กระทำสืบต่อกันมานี้เอง ในที่สุดได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมขึ้น
ในสมัยโบราณ เมื่อมีการเฉลิมฉลองประเพณีสำคัญต่างๆ เช่น การเกิด การตาย การเก็บเกี่ยวพืชผล หรือเริ่มมีการสังคมกับกลุ่มอื่นๆ ก็จะมีการประดับหรือตกแต่งร่างกาย ให้เกิดความสวยงามด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น ขนนก หนังสัตว์ หรือทาสีตามร่างกาย มีการสักหรือเจาะ บางครั้งก็วาดลวดลายตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อแสดงฐานะหรือตำแหน่ง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีหลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวพื้นเมืองของประเทศต่างๆ ศาสนาก็มีบทบาทสำคัญในการแต่งกายด้วยเหมือนกัน ในสมัยสงครามทางศาสนา เช่น ? สงครามครูเสด ? ซึ่งเป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 300 ปี การสงครามที่ยาวนานทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างข้าศึกเกิดขึ้น ทำให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมซึ่งกันและกันตามมา

5. ความต้องการดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม
ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ย่อมมีความต้องการความสนใจจากเพศตรงกันข้าม โดยจะมีการแต่งกายเพื่อให้เกิดความสวยงาม มีการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่สนองความต้องการนี้ได้ดีที่สุดก็คือ นักออกแบบเสื้อผ้า ซึ่งได้พยายามออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามระดับของสังคมและเศรษฐกิจของผู้สวมใส่

6. เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม
สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ แต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป สังคมทั่วไปมีหลายระดับชนชั้น มีการแบ่งแยกกันตามฐานะทางเศรษฐกิจ เช่น ชนชั้นระดับเจ้านาย ชาวบ้าน และกรรมกร การแต่งกายสามารถบอกได้ถึงสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย




การแต่งกายประจำภาคเหนือภาคเหนือ





มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง
ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป
ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน


การแต่งกายประจำภาคอีสาน



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)


ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน”
ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย)
การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน


ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู
การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิง
ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก
ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน

เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มอีสานใต้
คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว




การแต่งกายประจำภาคกลางภาคกลาง







ภาษาภาคกลาง ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญ หรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
ลักษณะการแต่งกาย


ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม




การแต่งกายประจำภาคใต้



ภาคใต้
ภาคใต้ มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย
ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม
การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย
ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้

การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น

กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่

2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี