วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษา


 ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
สำคัญอย่างไร ??ระดับอุดมศึกษา
  ความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ที่มีต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
  • เป็นแหล่งค้นคว้าหาคำตอบของปัญหาต่างๆ
  • เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มพูนประสบการณ์
  • เป็นที่ศึกษาค้นคว้า และเขียนรายงานของผู้เรียน
  • เป็นแหล่งพักผ่อนหาความสนุกสนาน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เป็นที่สนทนา ปรึกษาหารือ
  • เป็นที่เตรียมงานด้านการสอนของผู้สอน
  • เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงานด้านวิชาการ
  • เป็นหน่วยงานกลางในการผลิตสื่อเพื่อสนับสนุนงานด้านต่างๆภายในมหาวิทยาลัย
  • เป็นศูนย์กลางในการให้คำแนะนำการใช้และการผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ
  • เป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้โสตทัศนูปกรณ์ภายในมหาวิทยาลัย
  • เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ประสานงานในเรื่องการบำรุงซ่อมแซมให้สื่อต่างๆภายในมหาวิทยาลัยอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการผลิตและจัดหาสื่อต่างๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อีกทั้งควบคุมการใช้หอประชุม ห้องประชุม ห้องบรรยายพิเศษ และห้องปฏิบัติการภาษา เพื่อสนับสนุนด้านการเรียนการสอนและการบริหารของมหาวิทยาลัย โดยการใช้โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของ    การจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันมีที่มาประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ ห้องสมุด การให้บริการสื่อ ช่องว่างของการเรียนแบบเดิม และการพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์สื่อการสอนในแนวคิดเดิมจึงเป็นการนำห้องสมุดอันเป็นแหล่งความรู้ โดยนำสื่อเข้ามาช่วยเพื่อลดช่องว่างของการศึกษาที่มีอยู่เดิมเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนการสอน แต่ในปัจจุบันมีศูนย์บริการสื่อจำนวนมากที่เปิดให้ใช้บริการ โดยศูนย์บริการสื่อในแต่ละแห่ง มีการบริการหลากหลายรูปแบบครบวงจร เหมาะแก่การเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าสำหรับคนทุกเพศทุกวัย 



วันนี้ฉันอยากจะขอเล่าถึง ศูนย์แห่งหนึ่งที่ฉันเคยไปใช้บริการ คือ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ แถวถนราชดำเนิน ถือว่าดีมาก มีบริการหลากหลายรูปแบบ น่าสนใจ  มีหนังสือให้อ่านมากมาย และไม่เสียค่าใช้จ่าย 

โดยขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาคร่าวๆดังนี้ อาคารเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานครนับตั้งแต่มีพระราชดำริของรัชกาลที่5   ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวังโดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของChampsElysees ในประเทศฝรั่งเศสซึ่งการก่อสร้างถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2442และลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นช่วงการออกแบบที่ยึดแนวสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคตะวันออกซึ่งต้องมีรูปแบบและสัดส่วนของอาคารที่ถูกต้องทุกส่วนและวางตัวอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด-ลมเพื่อให้สามารถรับลมธรรมชาติได้ดีและใน ด้านการให้บริการแบ่งออกเป็นหลายสัดส่วน ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ เช่น การนำสื่อผสมเสมือนจริง 4 มิติ สื่อมัลติทัช มัลติมีเดียแอนิเมชันในลักษณะอินเตอร์เอคทีฟเซล์ฟเลิร์นนิ่ง(InteractiveSelflearning) 
หนังสือซึ่งหนังสือส่วนใหญ่น่าอ่านมีความน่าสนใจและห้องสมุดยังเป็นศูนย์รวบรวมหนังสือหายากหนังสือทรงคุณค่าตลอดจนสื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ในทุกด้าน และนิทรรศการ เช่น นิทรรศการถาวร นิทรรศการปัจจุบันนิทรรศการนอกสถานที่ การจัดแสดงหุ่นจำลองอีกทั้งยังมีพื้นที่สำหรับนิทรรศการหมุนเวียน(EventHall) เพื่อสำหรับให้บริการแก่สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนในการใช้จัดกิจกรรมหรือนิทรรศการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่า 

ศูนย์บริการสื่อแห่งนี้ มีบริการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการบริการแต่ละรูปแบบนั้นล้วนเป็นประโยชน์กับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษามากกว่าในระดับอื่น เพราะการเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้ในเชิงประวัติศาสตร์และการเรียนรู้ในความสนใจเฉพาะด้านเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ฉะนั้นผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาจึงมีความสนใจอย่างมาก เช่นในส่วนของการแสดงนิทรรศการต่างๆ ฉันจึงสนใจอยากจะเผยแพร่ข้อมูลศูนย์แห่งนี้ให้ผู้อื่นที่สนใจศึกษาได้รับรู้ เพราะเป็นแหล่งศึกษาที่น่าสนใจมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นมีความเป็นไทยมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างจากศูนย์บริการสื่อโดยทั่วไป เน้นการให้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักแต่ที่นี่กลับเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจอีกทั้งเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานครตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5) 

www.nitasrattanakosin.com   แหล่งอ้างอิง