วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของสื่อต่อสังคมไทย


          สวัสดีเพื่อนๆ ชาวบล็อกทุกคนนะคะ ช่วงนี้ก็เข้าสู่กลางเดือนธันวาคมกันแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ ? หลายๆ ที่ก็มีอากาศหนาวเย็น อย่างเช่นภาคเหนือ บนดอย ทีมีอุณหภูมิต่ำสุดถึง 8 องศาเซลเซียส คงจะหนาวมากเลยทีเดียว ยังไงเพื่อนๆ ก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
       
          วันนี้ก็อยากจะมานำเสนอบล็อกในหัวข้อเรื่อง"อิทธิพลหรือบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีต่อชุมชนและสังคมไทย" โดยสิ่งพิมพ์ที่อยากจะนำเสนอและวิเคราะห์ให้เห็นถึงอิทธิพลหรือบทบาทนั้น คือ "นิตยสาร"

         นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้น โดยนำเสนอสาระข่าวบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน

        คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้อ่านบล็อกท่านใดจะไม่เคยอ่าน นิตยสาร มาก่อน ซึ่งนิตยสารถูกแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภท อาทิเช่น

1.  นิตยสารทั่วไป

(general magazines)

หมายถึง นิตยสารที่มีเนื้อหาสำหรับผู้อ่านทั่วไป เช่น นิตสารฟ้าเมืองไทย ที่หยุดพิมพ์ไปแล้ว นิตยสารสารคดี และนิตยสารอื่น ๆ ที่มีเนื้อหากว้าง ๆ ทั่วไปในทำนองเดียวกัน ซึ่งอาจรวมทั้งนิตยสารสำหรับครอบครัว เช่น นิตสารผู้หญิงเป็นต้น

2. นิตยสารเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคหรือเฉพาะด้าน

(specialized magazines)

นิตยสารประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด มีการจัดกลุ่มแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดตามลักษณะ ของกลุ่มผู้บริโภคตามหลักการของการตลาด โดยแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
 
2.1 นิตยสารข่าว เน้นในเรื่องข่าว เบื้องหลังข่าว วิเคราะห์และวิจารณ์ข่าว
 
2.2 นิตยสารผู้หญิง เน้นในเรื่องที่เป็นความสนใจของผู้หญิงทั่วไป
 
2.3 นิตยสารผู้ชาย เน้นในเรื่องเพศเป็นสำคัญ
 
2.4 นิตยสารธุรกิจ เน้นในเรื่องธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร การบริหารและการจัดการ
 
2.5 นิตยสารด้านอื่นๆ เช่น นิตยสารเด็ก นิตยสารวัยรุ่น นิตยสารครอบครัว นิตยสารสุขภาพ 
 

 3. นิตยสารและวารสารสมาคม

(association magazines)

เป็นนิตยสารออกในนามสมาคมต่าง ๆ เช่น สมาคมผู้คุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารที่ออกโดยสมาคมเหล่านี้บางครั้งอาจ จัดเข้าเป็นนิตยสารเฉพาะด้านหรือเฉพาะกลุ่มผู้บริโภค ประเภทใดประเภทหนึ่งได้เช่นกัน
 

4. นิตยสารและวารสารวิชาชีพ

(professional magazines)

มีลักษณะคล้าย ๆ กับนิตยสารสมาคมแต่เน้นในเรื่องวิชาชีพโดยเฉพาะ เช่น วิชาชีพทนายความ วิชาชีพครู วารสารวิชาการทั้งหลายอาจจะจัดรวมอยู่ในกลุ่มนี้ได้ เพราะวารสารเชิงวิชาการต่าง ๆ มักจะเน้นในวิทยาการด้านนั้น ๆ เป็นหลัก เช่น วารสารวิทยาการด้านการแพทย์
 

5. นิตยสารและวารสารการประชาสัมพันธ์

(public relation magazines)

เป็นนิตยสารที่ออกโดยบริษัทหรือหน่วยงาต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะชนโดยมีจุดประสงค์ในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือบริษัทนั้น ๆ บริษัทใหญ่ ๆ เช่น เอสโซ่ การบินไทย นอกจากนี้ยังอาจจะมีเพื่อการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภายในระหว่างลูกจ้างพนักงานหรือระหว่างบริษัทกับลูกค้า
 

6. นิตยสารฉบับแทรกหนังสือพิมพ์

(newspaper's magazines หรือ sunday supplement magazines)

หมายถึงนิตยสารที่ออกเป็นอภินันทนาการหรือเป็นฉบับแถมของหนังสือพิมพ์ในวันพิเศษ หรือวันอาทิตย์ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นิยมมีนิตยสารประเภทนี้อภนันทนาการแก่ผู้อ่านในวันอาทิตย์ เช่น แฟมิลี่ วิคลี่ (family Weekly)
 
      จะเห็นได้ว่านิตยสารแต่ละประเภทที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป แต่ละประเภทต่างมีอิทธิพลต่อมนุษย์เราอย่างมาก เพราะมนุษย์ทุกคนต่างต้องเคยเสพสื่อที่เรียกว่า "นิตยสาร"ไม่มากก็น้อย สิ่งที่มนุษย์เสพเข้าไปนั้นล้วนเป็นสิ่งที่มีผลทางตรงและมีผลทางอ้อม เช่น การอ่านนิตยสารข่าวส่งผลให้ผู้อ่านมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป มีมุมมองความคิดที่แตกต่างหลากหลาย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เกิดความคิดที่เห็นต่าง เกิดความคิดที่เห็นด้วย  และการอ่านนิตยสารบันเทิงส่งผลให้เรามีความกระตือรืนร้น อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น เช่นบันเทิงประเภทที่เกี่ยวกับดารา นักแสดง นักร้อง ทำอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ทำให้เรา อยากรู้อยากเห็น อยากทำตาม อยากเลียนแบบ กลุ่มคนเหล่านั้นที่มีอืทธิพลต่อสังคม และการอ่านนิตยสารประเภทนิตยสารธุรกิจ เมื่อเราอ่านสิ่งที่ได้รับเต็ม ๆ จาการอ่านคงจะเป็นความรู้ ข้อเท็จจริง ประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
 
     รวมถึงการใช้ภาษา ก็เป็นสิ่งที่สร้างอิทธิพลให้กับเราอย่างมากเช่น การพาดหัวข่าว มักเขียนในรูปวลีสั้น ๆ เพียงหนึ่งบรรทัดและใช้ภาษาแบบเป็นทางการหรือกึ่งทางการ รูปแบบประโยค นิยมเขียนประโยคที่สมบูรณ์ ใช้ประโยคเดี่ยวมากกว่าประโยคซ้อน ระดับภาษา เป็นภาษากึ่งแบบแผน และใช้ลีลาการเขียนแบบให้ข้อเท็จจริงแต่อาจใช้ภาษาสนทนาปะปนในข่าวได้ การใช้คำสแลง ภาษาข่าวในนิตยสารไม่นิยมใช้คำสแลง การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล ใช้เฉพาะในส่วนพาดหัวข่าวบ้าง และ การใช้ภาษาเชิงวิพากษ์ ความแตกต่างของการเขียนข่าวในนิตยสารกับหนังสือพิมพ์ คือ ความชัดเจนในการแสดงจุดยืนหรือข้อคิดเห็น แต่สำหรับนิตยสารผู้เขียนอาจมีแนวคิดต่อข่าวที่เกิดขึ้นและอาจแสดงจุดยืนชัดเจน บางกรณีเราจึงพบคอลัมน์ข่าวในนิตยสารมีความเป็นกลางน้อยกว่าข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ด้วยการ ใช้ภาษาเชิงวิพากษ์  สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อเราอย่างมากเพราะเปรียบเสมือนแรงจูงใจที่คอยกระตุ้นความคิด การกระทำให้แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เกิดความแตกแยก เกิดการมุ่งผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย
 

     จะเห็นได้ว่าการอ่าน นิตยสาร มีอิทธิพลกับเราทั้งใน ด้านดี และ ด้านไม่ดี รวมถึงเยาวชนอย่างเราที่ขณะนี้ถูกสื่อสิ่งพิมพ์ ถาโถมใส่อย่างหนัก จึงเป็นสิ่งที่เยาวชนต้องเผชิญและตระหนักว่าสิ่งที่ได้พบและได้เห็นนี้มีไว้ให้เรียนรู้และเลี่ยง ไม่ใช่เพื่อเลียนแบบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การอ่านนิตยสารจะส่ง ผลดี หรือ ผลเสีย ต่อเรานั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คิดไตร่ตรอง ถึงสิ่งที่ควรเชื่อ หรือ สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ สิ่งที่ควรทำตาม หรือสิ่งที่ไม่ควรทำตาม และเลือกอ่านสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเรา เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เรารู้ว่า นิตยสาร ที่เราอ่านนั้น มีอิทธิด้านไหนกับเรามากกว่ากัน

 
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter8-7.html