วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สื่อสิ่งพิมพ์ที่ชื่นชอบ

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง
แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน

สื่อสิ่งพิมพ์ที่ฉันชื่นชอบ คือ
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ (Newspapers)
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน



โดยหนังสือพิมพ์ที่ชื่นชอบ คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดย นายกำพล วัชรพลปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท


เหตุผลที่ชอบสื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนี้เพราะ
หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ อ่านง่าย ใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการมากนักให้ข่าวสารเหตุการณ์ในประเทศ และ ทั่วโลกได้รวดเร็วและ ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี โดยจะแบ่งออกเป็นแต่ละหมวดหมู่อย่างชัดเจน อีกทั้งให้ความรู้และความเข้าใจสภาพของสังคม ในเชิงวิเคราะห์ มีข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ให้ความเพลิดเพลินและนันทนาการ เช่น คอลัมม์ซุบซิบ การ์ตูนขำขัน   เพราะหนังสือพิมพ์เป็นกระจกเงาสะท้อนภาพของสังคมว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ส่วนในแง่ของการออกแบบ สิ่งที่ชอบเพราะ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ มีการใช้การพาดหัวข่าวด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ ทำให้มองดูแล้วสะดุดตา น่าสนใจ และมีการจัดรูปแบบของข่าวอย่างชัดเจน เช่นเมื่อมีการพาดหัวข่าวเรื่องนั้นๆ ด้านข้างของหัวข้อข่าวจะมีเนื้อหาอธิบายข่าวที่สามารถทำให้เราเข้าไปสู่เนื้อความขเต็มๆ ของข่าวได้อย่างง่ายดาย เพราะจะมีเลขหน้าที่ระบุบอกไว้อย่างชัดเจนว่า สามารถติดตามอ่านเนื้อความได้จากหน้าไหนของหนังสือพิมพ์



วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หนังสือเล่มโปรด

วันนี้ฉันอยากแนะนำหนังสือที่ชื่นชอบ คือ หนังสือที่มีชื่อว่า  "หัวใจแห่งความสุข"


          หากเราสามารถขอพรวิเศษได้ เชื่อว่าพรวิเศษข้อหนึ่งที่ทุกคนนึกถึงและอยากได้คือ ความสุข นี่เป็นบทนำที่ทำให้ฉันอยากอ่านหนังสือเล่มนี้จนจบเล่ม และหนังสือเล่มนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นจากเทศนาธรรมของ พระไพศาล วิสาโล โดยท่านได้อนุญาตข้อมูลและกรุณาตรวจทานความถูกต้องเรียบร้อยในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ หนังสือธรรมะเล่มนี้เป็นธรรมบรรณาการนำมาซึ่งความสุขความเบิกบานสว่างไสวแห่งจิตใจของผู้ที่ได้อ่านทุกท่าน


บทความในหนังสือถูกแบ่งออกเป็นหัวข้อหลักๆ 6 ข้อได้แก่ เปิดใจพร้อมยอมรับทุกสิ่ง รู้ใจก็ไร้ทุกข์ มองเป็นก็เห็นสุข เป็นมิตรกับตัวเอง รักตัวเองถูกต้องจึงมีสุขแท้จริง เปิดใจรับความสุข
 
          เหตุผลที่่ชอบหนังสือเล่มนี้เพราะ อ่านแล้วรู้สึกว่าตัวเองมองโลกเปลี่ยนไป ยอมรับสิ่งใหม่ๆมากขึ้น และยังใช้ชีวิตได้ทุกวันอย่างมีความสุขมากกว่าแต่ก่อนที่เคยเป็นอยู่ โดยเนื้อหาในหนังสือส่วนใหญ่มักเป็นข้อคิด ให้เราได้แง่คิดใหม่ๆในการมองเรื่องทุกข์ให้กลายเป็นความสุข ฉันมีแง่คิดใหม่ๆมากขึ้นเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบลง โดยประโยคที่ชอบมากในบทความคือ 

"  ความสุขอยู่กับเราแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาที่ไหนเลย หากเรารู้จักมองก็จะยิ่งประจักษ์แก่ใจว่าความสุขนั้นอยู่กับเราตลอดเวลา แต่เหตุใดคนจำนวนมากถึงต้องไปแสวงหาความสุขตามที่ไกลๆ นั่นเป็นเพราะเขามองไม่เห็นความสุขที่มีอยู่รอบตัวหรือมีอยู่ในตัวเขานั่นเอง ทำไมถึงมองไม่เห็น ก็เพราะไม่เปิดใจรับความสุข ถ้าเพียงเปิดใจ เราก็จะสามารถมองเห็นและรับรู้ความสุขได้ไม่ยาก "    
                          
          หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อชีวิตของฉันมาก มันทำให้ฉันเปลี่ยนความคิด เปิดใจยอมรับอะไรใหม่ๆ  ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆได้อย่างมีสติ ฉันจึงอยากแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้เพื่อนๆได้ลองอ่านเผื่อใครที่กำลังเจอปัญหาหรือมีเรื่องทุกข์ใจ อาจจะสบายใจมากขึ้นและช่วยบรรเทาความทุกข์ทั้งหลายให้คลายลงได้มากขึ้นค่ะ

          การอ่านไม่ใช่สักแต่ว่าอ่านอะไรก็ได้ แต่ควรจะต้องเลือกอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ ต่อความรู้ ความคิด และจินตนาการ และหนังสือแต่ละประเภทนั้นต่างให้ประโยชน์แก่เรามากมาย เช่น ทำให้มีความรู้ในวิชาการด้านต่างๆ ทำให้รอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์ ทำให้ค้นหาคำตอบที่ต้องการได้ ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ทำให้เกิดทักษะและพัฒนาการในการอ่าน ทำให้ชีวิตมีพัฒนาการเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ ทำให้เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีและเสริมสร้างบุคลิกภาพ
          ดังนั้นเราจึงต้องตระหนักเรื่องคุณค่าของหนังสือ และการสร้างรสนิยมในการอ่าน ซึ่งอาจจะยังเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยได้คิดถึงกัน ทั้งที่การอ่านนั้นมิใช่แค่ อ่านออก หรือ อ่านได้ แต่ต้องอ่านเป็นด้วย เพราะคุณภาพของคนในสังคม ย่อมมาจากคุณภาพของหนังสือที่เขาอ่าน